13 มกราคม 2553

โรคเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) และการรักษาโรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการที่น่าหนักใจไม่น้อยหากผู้ป่วยมีอาการโรคเบาหวาน (Diabetes symptoms)และดูแลตนเองไม่ดีอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นมาอาจเป็นเบาหวานขึ้นตาที่หากผู้ป่วยควบคุมอาการไม่ดีอาจทำให้อาการเบาหวานกำเริบขึ้นไปสู่จอประสาทตาความรุนแรงนั้นอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ โรคแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานจะมีมากขึ้นตามระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานเช่น ระดับไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ความอ้วน การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ฯลฯ

โรคเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากอาการเบาหวานโดยอาการของโรคจะทำให้การมองเห็นลดลงหรือมองไม่เห็นแบบกะทันหันได้ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดการโป่งพองของเส้นเลือดที่บริเวณใดของตา หากอาการเบาหวานขึ้นตาที่บริเวณจอรับภาพของดวงตา เส้นเลือดของจอรับภาพแตกเกิดขึ้นตรงตำแหน่งจุดศูนย์กลางการมองเห็นของจอรับภาพจะส่งผลให้ตาบอดกะทันหันได้ แต่หากโชคดีเส้นเลือดที่แตกเกิดที่ตำแหน่งอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการมองเห็นก็จะไม่มีอาการอะไร

การป้องกันและการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตา ทำได้โดยการให้จักษุแพทย์ (Ophthalmologist) ทำการตรวจการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดในดวงตาโดยเฉพาะบริเวณจุดศูนย์กลางของการมองเห็น หากมีเส้นเลือดแตกก็จะทำการรักษาโรคเบาหวานขึ้นตาได้โดยใช้การยิงเลเซอร์ที่ช่วยได้เพียงแค่เป็นการประคับประคองอาการโรคเบาหวานขึ้นตาไม่ให้รุนแรงมากขึ้นจนอาจทำให้ตาบอดเท่านั้น เช่นเดียวกับอาการเบาหวานที่ทำให้มีเลือดออกในวุ้นของดวงตา การรักษาโรคเบาหวานในกรณีนี้จึงทำได้โดยการผ่าตัดซ่อมจอรับภาพและเปลี่ยนวุ้นลูกตาแต่การรักษาในลักษณะนี้เป็นเพียงการประคับประคองอาการโรคเบาหวานไม่ให้เป็นหนักกว่าที่เป็นอยู่เท่านั้น

โรคแทรกซ้อนจากอาการโรคเบาหวานอีกโรคหนึ่งที่เกี่ยวกับตาคือ ต้อกระจก สาเหตุเกิดจากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมอาการของโรคเบาหวานได้ดีพอจึงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนคือโรคต้อกระจก (Cataract) ซึ่งมีอาการขุ่นมัวที่เลนส์ตาและจะส่งผลกระทบต่อการมองเห็นของผู้ป่วยเบาหวาน การรักษาโรคต้อกระจกที่เกิดจากเบาหวานนิยมผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตาก็จะช่วยให้กลับมามองเห็นได้เหมือนเดิม

การรักษาโรคเบาหวานเป็นการรักษาที่ปลายเหตุเท่านั้น เราควรเน้นที่การป้องกันมากกว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานหากมีการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งในเรื่องการปรับพฤติกรรม การดูแลสุขภาพและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากซึ่งเป็นการป้องกันที่ได้ผลดีทำให้ผู้ป่วยสามารถอยู่ต่อไปกับโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) ได้อย่างปกติไม่ต้องเครียดกับโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน